วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กาพย์เห่เรือ


วันภาษาไทยแห่งชาติ 29 กรกฎาคม


ความเป็นมา

 

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ” และวันสื่อสารแห่งชาติ” เป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

เหตุผล

 

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป

ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสาร มี่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง สภาพการณ์เช่นนี้หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง จะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นทวีคูณ

ทำไมจึงได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ” 

 

เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ ปัญหาการใช้คำไทย” ทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยในปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาสต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทยทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ

วัตถุประสงค์

 

.   เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใยและพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
.   เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
.   เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
.   เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
.   เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการมี “ วันภาษาไทยแห่งชาติ 

คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ
.   การมี วันภาษาไทยแห่งชาติ” จะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ ภาษาประจำชาติ” ของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ
.   บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
.   ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

กิจกรรม

 

เชิญชวนให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดกิจกรรมเนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติ” ในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยจัด ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดนิทรรศการการอภิปรายทางวิชาการการประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน ฯลฯ,




วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความสุขยิ่งกว่าการให้


ชายหนุ่มคนหนึ่งมีชีวิตที่เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ
หน้าตาหล่อเหลา มีการศึกษาสูง มีงานการที่มั่นคง มีความก้าวหน้า
ในอนาคต มีคนรักใคร่รอบข้าง เรียกว่าใครเห็นใครรู้เป็นต้องอิจฉา
วันหนึ่งชีวิตที่สมบูรณ์แบบของชายคนนี้ยิ่งสุดยอด สมบูรณ์แบบ
มากขึ้น เมื่อพี่ของเขายอมควักเงินก้อนโตซื้อรถสปอร์ตคนงามเป็น
ของขวัญให้กับน้องชาย…ไม่ต้องบอกว่าเจ้าตัวจะยินดีปรีดาแค่ไหน
เพราะรถสปอร์ตสุดหรูคันนี้ ชายหนุ่มนายนี้ฝันอยากได้
เป็นเจ้าของมาตลอดชีวิต
เมื่อความฝันเป็นจริง สิ่งที่ชายหนุ่มคิดทำอย่างแรกคือ
ขับเจ้ารถสปอร์ตตระเวนไปตามที่ต่างๆให้สมอยาก
ใจหนึ่งต้องการทดสอบแรงม้าที่ซ่อนตัวอยู่ในห้องเครื่อง
ว่าจะมีเรี่ยวแรงเต็มกำลังแค่ไหน
อีกใจก็แน่นอนว่า ใครที่มีรถสวยแรงขนาดนี้คงไม่บ้าเก็บเอาไว้ดู
ตามลำพังที่โรงรถในบ้าน
ขับโฉบเฉี่ยวไปมาสักพัก ก็ถึงเวลาพักทั้งเครื่องและคน
ชายหนุ่มจัดแจงจอดรถข้างถนน………..
ระหว่างกำลังพักผ่อนอิริยาบถ เขาเห็นเด็กคนหนึ่งเดินลูบๆคลำๆ
รอบรถคันงามด้วยกิริยาท่าทีชื่นชอบรถสปอร์ตอย่างเห็นได้ชัด
ชายหนุ่มรู้สึกภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของสิ่งที่หลายต่อหลายคนใฝ่ฝัน
เขาเดินยืดอกมาที่รถ พร้อมพูดจาทักทายเด็กคนนั้นด้วยน้ำเสียง
มั่นใจ ดั่งขุนศึกผู้ชนะสงคราม
“ระวังหน่อยน้อง เดี๋ยวเป็นรอย” เขาบอก
เด็กคนนั้นมองไปยังชายหนุ่มเจ้าของเสียง ก่อนจะพูดตอบ
“รถของพี่เหรอ สุดยอดจริงๆ”
“แน่นอน” เขาตอบ
“พี่ซื้อมาราคาเท่าไหร่” เด็กคนเดิมถาม
“คนอื่นอาจต้องควักสตางค์ซื้อเอง แต่พี่ไม่ต้อง เพราะพี่ชายพี่ซื้อให้ เป็นของขวัญ”
“โอ้โห! ดีจัง ผมอยาก….” เด็กคนเดิมพูดตะกุกตะกักชะงักในตอนท้าย
ชายหนุ่มคิดในใจว่า เด็กคนนี้คงไม่กล้าพูดต่อ
เพราะที่เด็กอยากจะพูดแต่ยั้งปากยั้งคำไว้นั้น คงต้องการบอกว่า
อิจฉาตัวเขาเอง อยากจะเป็นอย่างเขาบ้าง…
มีพี่ที่แสนดีซื้อรถสุดหรูให้เป็นของขวัญ…
แต่สิ่งที่ชายหนุ่มคิดกลับผิดถนัด
“โอ้โห ดีจัง ผมอยาก….เป็นอย่างพี่ชายของพี่จัง” เด็กคนนั้นพูด
“ผมจะได้ซื้อรถให้น้องชายผมนั่งบ้าง”
ชายหนุ่มถึงกับอึ้ง
ในสังคมทุกวันนี้ที่ใครๆ ตั้งหน้าตั้งตาแต่จะรับ
หรือบางคนไม่ยอมรอ
ใช้กำลังความได้เปรียบแย่งชิงของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
แต่เด็กคนนี้กลับคิดสวนทางใครๆ …เขาอยากเป็นผู้ให้
มากกว่าเป็นผู้รับ…
ชายหนุ่มมองเด็กด้วยความรู้สึกทึ่งและพูดออกมาทันทีว่า
“อยากนั่งรถเล่นกับฉันไหม”
“ครับ อยากมากเลย”
หลังจากขับรถเล่นอยู่พักหนึ่ง เด็กชายหันมาพูดด้วยดวงตาวาวแวว
“คุณจะกรุณาขับรถไปหน้าบ้านผมได้ไหมครับ”
ชายหนุ่มยิ้มน้อยๆ เขาคิดว่าเขารู้ดีว่าเด็กหนุ่มต้องการอะไร
เขาคงต้องการให้เพื่อนบ้านเห็นว่าเขาได้นั่งรถคันโตกลับบ้าน ……
แต่ชายหนุ่มคิดผิดอีกแล้ว ……
“คุณจอดตรงบันไดนั่นล่ะครับ” เขาวิ่งขึ้นบันได
จากนั้นสักครู่จึงกลับมา………แต่เขาไม่ได้วิ่ง
เขาอุ้มน้องตัวเล็กๆที่ขาพิการมาด้วย และวางน้องลงที่บันไดล่าง
กอดไว้และชี้ไปที่รถ
“นั่นไง บัดดี้ รถคันที่พี่เล่าให้ฟังพี่ชายของเขาซื้อให้เป็นของขวัญ
เขาไม่ต้องเสียตังค์เลย
สักวันหนึ่งพี่จะซื้อให้น้องบ้าง น้องจะได้ดูของสวยๆงามๆด้วยตา
ของน้องเองเหมือนที่พี่เคยเล่าให้ฟัง”
ชายหนุ่มลงจากรถ แล้วอุ้มเด็กน้อยขึ้นรถ
พี่ชายปีนตามขึ้นมานั่งใกล้
และแล้วทั้งสามก็เริ่มออกเดินทาง ชายหนุ่มรู้แล้วว่า
“ความสุขยิ่งกว่าการให้” หมายถึงอะไร ………..


พระคุณที่สาม


ครูบาอาจารย์ที่ท่านประทานความรู้มาให้ 
อบรมจิตใจให้รู้ผิดชอบชั่วดี 
ก่อนจะนอนสวดมนต์อ้อนวอนทุกที 
ขอกุศลบุญบารมีส่งเสริมครูนี้ให้ร่มเย็น 
ครูมีบุญคุณจึงขอเทิดทูนเอาไว้เหนือเกล้า 
ท่านสั่งสอนเราอบรมให้เราไม่เว้น 
ท่านอุทิศไม่คิดถึงความยากเย็น 
สอนจนรู้จัดเจนเฝ้าเน้นเฝ้าแนะมิได้อำพราง 
พระคุณที่สามงดงามแจ่มใส 
แต่ว่าใครหนอใครเปรียบเปรยครูไว้ว่าเป็นเรือจ้าง 
พลาดจากความจริงยิ่งคิดยิ่งเห็นว่าผิดทาง 
มีใครไหนบ้างแนะนำแนวทางอย่างครู 
บุญเคยทำมาแต่ปางใดๆเรายกให้ท่าน 
ตั้งใจกราบกรานระลึกคุณท่านกตัญญู 
โรคและภัยอย่าได้แผ้วพานคุณครู 
ขอกุศลผลบุญค้ำชูให้ครูเป็นสุขชั่วนิรันดร 
(ให้ครูเป็นสุขชั่วนิรันดร) 

สดุดีสุนทรภู่

สดุดีกวีกลอนสุนทรภู่
ท่านผู้อยู่คู่กลอนสุนทรสยาม
ประพันธ์แต่งเรื่องราวเลื่องลือนาม
ทั่วเขตคามทุกสกลยลชื่นชม

           สดุดีกวีท่านประพันธ์พริ้ง
           งามทุกสิ่งบทละครกลอนเหมาะสม
           ทั้งเพลงยาวทรงคุณค่าน่านิยม
           นิราศคม ควรค่า ภาษาไทย
สดุดีกวีกลอนสุนทรสยาม
เลื่องลือนามมาทุกยุคทุกสมัย
แม้นเวลาผันผ่านนานเพียงใด
ชนชาวไทยยังเล่าขานตำนานกวี
           ยี่สิบหก มิถุนา มาบรรจบ
           เวียนมาครบประสบฤกษ์ไกรเกริกศรี
          ทุกอาณาทั่วผืนฟ้าทั้งธานี
           สดุดีกวีกลอนสุนทรไทย

กำลังใจดีดีให้ตัวเอง


.. ไม่มีใครเกิดมาไร้ค่า
แม้แต่คนโง่ที่สุดยังฉลาดในบางเรื่อง
และคนฉลาดที่สุด
ก็ยังโง่ในหลายเรื่อง ..
.. ไม่มีอะไรเสียเวลาไปมากกว่า
การคิดที่จะย้อนกลับไปแก้ไขอดีต
ไม่เคยมีอะไรช้าเกินไป
ที่จะทำใหสิ่งที่ตนฝัน ..
.. คนที่ไม่เคยหิว
ย่อมไม่ซาบซึ้งรสของความอิ่ม
ความสำเร็จที่ผ่านความล้มเหลว
ย่อมหอมหวานกว่าเดิม ..
.. อันตรายที่สุดของชีวิตคนเราคือ การคาดหวัง
อย่ายอมแพ้ ถ้ายังไม่ได้พยายามอย่างเต็มที่
เหตุผลขอคนๆ หนึ่ง อาจไม่ใช่เหตุผลของคน
อีกคนนึง ถ้าคุณไม่ลองก้าว คุณจะไม่มีทางรู้เลยว่า
ทางข้างหน้าเป็นอย่างไร
ปัญหาทุกอย่างล้วนอยู่ที่ตัวเราทั้งสิ้น
ยินดีกับสิ่งที่ได้มา และยอมรับกับสิ่งที่เสียไป
หลังพายุผ่านไป ฟ้าย่อมสดใสเสมอ
มีแต่วันนี้ที่มีค่า ไม่มีวันหน้า วันหลัง ..
.. คนเรา
ไม่ต้องเก่งไปทุกอย่าง
แต่จงสนุกกับงานทุกชิ้น
ที่ได้ทำ ..
หัวใจของการเดินทางไม่ได้อยู่ที่จุดหมาย
หากอยู่ที่ประสบการณ์สองข้างทาง .. มากกว่า